วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คำถามท้ายบทที่ 1















1.คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง พร้อมรูป












ประเภทคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ


1. Super Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และสามารถประมวลผลได้เร็วที่สุด มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูง ส่วนมากจะผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น เช่นงานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ยุ่งยากซับซ้อน และต้องมีการคํานวณมาก เช่น งานวิจัยทางด้านนิวเคลียร์ งานพยากรณ์อากาศ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้มีราคาแพงมาก





2. Mainframe Computer เป็นคอมพิวเตอร็ที่มีประสิทธิภาพตํ่ารองจาก Super computerและความเร็วในการประมวลผลสูง ส่วนใหญ่มักจะนํ าไปใช้งานกับองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร สายการบิน บริษัทประกันภัย มหาวิทยาลัย เป็นต้น






3. Mini Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลและความจุตํ่ากว่าระบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์จะทํางานโดยใช้ระบบผู้ใช้หลายคน (Multi-user system) มักจะใช้กับงานที่มีข้อมูลไม่มาก ส่วนใหญ่ที่นิยมนํามาประยุกต์ใช้งานกับบริษัทขนาดกลาง เช่น ระบบบัญชี


4. Micro Computer หรือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีขนาดเล็ก นํ้าหนักเบา ราคาไม่แพง สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก





2.คอมพิวเตอร์แบบฝังคืออะไร ใช้ประโยชน์อะไรบ้าง พร้อมรูปประกอบ


คอมพิวเตอร์แบบฝัง
(embedded computers)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไปในอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้มองไม่เห็นจากรูปลักษณ์
ภายนอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์นิยมใช้ในการทำงานเฉพาะด้านโดยทำหน้าที่ควบคุมหน้าที่การทำงานบางอย่าง เช่น เตาไมโครเวฟ ระบบการเติมน้ำมัน นาฬิกาข้อมือ อุปกรณ์การเล่นเกมส์ เป็นต้น
3.ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่างๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง ข้อมูลจึงจำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ดีมีความถูกต้องแม่นยำaaaaaสำหรับ สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์
สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ
4.VLSI มีอะไรมีความสำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร
VLSI ย่อมาจาก very large scale integration (แปลว่า วงจรรวมความจุสูงมาก) หมายถึงการสร้างชิป (chip) โดยสามารถนำประตู (gate) มารวมกันได้ถึง 100,000 ประตูหรือมากกว่านั้น แล้วนำมาใช้เป็นตัวประมวลผล ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงได้มากขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง
5.นิสิตใช้คอมพิวเตอร์ในอะไรบ้าง ให้อธิบาย
1. ใช้ทำงานต่างๆเพื่อส่งอาจารย์
2.ใช้สำหรับส่ง E-mail
3.เพื่อนสื่อสารกับเพื่อน

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ข่าวสารเทคโนโลยี

ข่าวสารเทคโนโลยี
1.ช่วยโลก! เปลี่ยนขยะพิษจากคอมพ์ เป็นน้ำมันเติมรถ

ทั้งนี้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อันตรายกว่าขยะตามบ้านเรือนทั่วๆ ไปมาก เนื่องจากขยะไฮเทคเหล่านี้ประกอบขึ้นจากวัสดุมีพิษมา กมาย อาทิ สารหนู ปรอท ตะกั่ว และสารหน่วงไฟ เป็นต้น




ทั้งนี้ตามรายงานของไลฟ์ไซน์ (Live Science) ระบุว่า เมื่อปี 2548 เฉพาะที่สหรัฐอเมริกาประเทศเดียว ก็ก่อให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 2.63 ล้านตัน แต่มีข่าวดีว่านักวิทยาศาสตร์ในโรมาเนียและตุรกี กำลังหาวิธีนำสารพิษออกจากขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ เพื่อให้นำไปรีไซเคิลได้อย่างปลอดภัย




คอร์เนเลีย วาซิเล (Cornelia Vasile) นักวิจัยจากสถาบันแห่งโรมาเนีย (Romanian Academy) และคณะได้เลือกแผงวงจรจากคอมพิวเตอร์ที่ถูกทิ้ง จากนั้นใช้การผสมตัวเร่งปฏิกิริยาพิเศษ อุณหภูมิสูงและการแยกทางเคมีเพื่อทำลายสารเติมแต่งเพ ื่อหน่วงไฟที่อยู่ในพลาสติกแผงวงจรกระบวนการดังกล่าวสามารถแยกสารประกอบที่เป็นพิษออกมา ได้เกือบทั้งหมดและได้ผลเป็นน้ำมันที่ปลอดภัยพอที่จะ ใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือวัตถุดิบสำหรับผลิตเครื่องอุปโ ภคในชีวิตประจำวันได้




โดยรายละเอียดของงานวิจัยจะรายงานในวารสารพลังงานและ เชื้อเพลิง "เอเนอร์จี แอนด์ ฟิเอล" (Energy & Fuels) ฉบับที่ 21 พ.ค.นี้"ถือเป็นงานที่มีประโยชน์" ความเห็นต่องานวิจัยของวิลเลียม ฮอลล์ (William Hall) วิศวกรเคมีจากมหาวิทยาลัยโคเวนทรี (Coventry University) อังกฤษ




ซึ่งไม่มีส่วนร่วมกับงานวิจัยของวาซิเล และระบุว่าการรีไซเคิลแผงวงจรจากขยะอิเล็กทรอนิกส์จะ มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะโลหะบางอย่างที่อยู่ในแผงวงจรเหล่านั้นจะเริ่มข าดแคลนมากขึ้นฮอลล์เสริมอีกว่าปัจจุบันการแยกชิ้ส่วนแผงวงจรสามารถ ทำได้ในโรงหลอม ซึ่งนวัตกรรมที่ทีมวาซิเลพัฒนาขึ้นมานั้นต้องพิสูจน์ ให้เห็นว่ามีความได้เปรียบโรงหลอมและมีความคุ้มค่าเช ิงการค้า โดยประโยชน์ของเทคนิคใหม่นี้คือการนำโลหะที่อยู่ในแผ งวงจรกลับมาคืน อีกทั้งยังสามารถนำสารเคมีอินทรีย์ที่มีค่ากลับมาใช้ ใหม่ได้
-------------------------------------------------------------------------------------------------


2.“กสท”ลงทุน3Gความถี่850MHz ปรับแผนให้ทรูมูฟเช่าเครือข่าย

บอร์ด กสท นัด 31 พ.ค.ถกอนาคตบริการ 3G ของดีแทค ทรูมูฟ คาดหลังเกลี่ยความถี่ 850 MHz ใหม่จะทำให้ได้ความถี่ว่าง 5 MHz กสทจะลงทุนเองเพื่อเป็นเน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์แล้วให้ทรูมูฟเช่าในฐานะเซอร์วิสโพรวายเด อร์ ‘สถิตย์’ชี้เกรงกระทบสัญญาสัมปทาน หากเดินแนวทางเดียวกับดีแทค พร้อมเปิดช่องทรูมูฟอาจได้เป็นมาร์เกตติ้งอาร์ม ซีดีเอ็มเอภูธรนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานบอร์ดบริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า ในการประชุมบอร์ด กสท วันที่ 31 พ.ค.ที่จะถึงนี้ บอร์ดจะพิจารณาเรื่องสำคัญ 3 เรื่องคือ
1. การพัฒนาบริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA ของดีแทคและทรูมูฟ 2. แผนพลิกฟื้นธุรกิจหรือturn around planและ3. งบประมาณประจำปี 2552 ของกสท จำนวน 3 หมื่นล้านบาทที่ฝ่ายบริหารจะเสนอเข้ามาในส่วนของดีแทคถือว่ามีความคืบหน้ามาก หลังมีการเจรจาระหว่างกสทกับดีแทค
ได้ข้อสรุป 3 เรื่องร่วมกันคือ 1. ดีแทคและกสทจะจัดระเบียบหรือเกลี่ยความถี่ในช่วง 850 MHz เดิมซึ่งจะทำให้ได้ช่วงกว้างความถี่หรือ bandwidth ว่างจำนวน 5MHzเพื่อให้กสทสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. ดีแทคตกลงใช้เกตเวย์โทรศัพท์ระหว่างประเทศของกสทเท่า นั้นในบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและ3. ดีแทคยินดีโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยเพิ่มเติมข้อความหรื อโลโก้กสทในฐานะพันธมิตรในการให้บริการ3Gส่วนกรณีทรูมูฟมีความยากกว่ามากเพราะสัมปทานของทรูมู ฟนั้นเป็นการให้บริการโทรศัพท์มือถือในย่านความถี่ 1800 MHz และเกิดขึ้นหลังพ.ร.บ.ร่วมการงานระหว่างรัฐกับเอกชน พ.ศ.2535 จำเป็นต้องมีการตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 13 และต้องรายงานเข้าที่ประชุมครม.
ซึ่งเป็นการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีในสมัยนายสิทธิช ัย โภไคยอุดม เป็นรมว.ไอซีทีดังนั้น หากกสทยกความถี่ 850 MHz ที่ว่างภายหลังการจัดระเบียบคลื่นความถี่ระหว่างดีแท คกับกสทให้ทรูมูฟ อาจกระทบกับสัญญาสัมปทานเดิมเพราะมองได้ว่าเป็นสัมปท านใหม่ ทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดทางหนึ่งมีความเป็นไปได้ที่กส ทจะลงทุน HSPA หรือ 3G ในย่านความถี่ 850 MHz เองในฐานะเน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์แล้วให้ทรูมูฟมาเช่าในฐานะเซอร์วิสโพรวาย เดอร์ ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้ดีแทคและทรูมูฟสามารถให้บริการ
HSPA ได้เช่นเดียวกับเอไอเอส‘ในความเห็นส่วนตัวผมอยากให้กสทลงทุนเน็ตเวิร์ก 3G ด้วย HSPA เองแล้วให้ทรูมูฟมาเช่า แต่ต้องมีการเจรจารายละเอียดต่อไป ซึ่งยังเป็นไปได้ว่าทรูมูฟอาจจะเข้ามาช่วยทำตลาดซีดี เอ็มเอในภูมิภาค 51 จังหวัดของกสท ทั้งหมดอยู่ที่บอร์ด กสท วันที่ 31 พ.ค.’อย่างไรก็ตาม หากกสทลงทุนเอง ก็ต้องผ่านขั้นตอนตามลำดับต้องขอความเห็นชอบจากกระทร วงไอซีที มีการนำเสนอสภาพัฒน์ และเปิดประมูลอี-ออกชันอย่างโปร่งใส ซึ่งเชื่อว่าคงใช้เวลาไม่นานนักนายมั่น พัธโนทัย รมว.ไอซีที
กล่าวว่า ได้ให้นโยบายแก่บอร์ดกสทว่าจะต้องพิจารณาเรื่อง 3G อย่างรอบคอบ และให้ความเป็นธรรมแก่เอกชนทั้งดีแทคและทรูมูฟ ซึ่งการที่เอไอเอสต้องชะลอการลงทุน HSPA ออกไปก่อน ก็เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม เพราะหากเอไอเอสกับดีแทคขยายการลงทุนไปมาก การที่เป็น 2 รายใหญ่ในตลาดก็เท่ากับปิดโอกาสผู้ให้บริการที่เหลือส่วนการประชุมซูเปอร์บอร์ดเพื่อตัดสินการซื้อขายหุ้น ระหว่างทีโอทีกับกสท ในกิจการร่วมค้าไทยโมบายในวันที่ 26 พ.ค.นี้ หากยังไม่สามารถได้ข้อสรุปในเรื่องราคาเพราะเท่าที่ท ราบเบื้องต้นทีโอทีต้องการซื้อในราคาประมาณ 1.8-1.9 พันล้านบาท ในขณะที่กสทยังยืนยันที่จะขายในราคา 2.4 พันล้านบาท
ก็ยังมีทางออกด้วยการจ้างทีมบริหารมืออาชีพเข้ามาบริ หารจัดการในขณะที่โครงสร้างการถือหุ้นต่างๆยังเป็นไปในรูปแบบเ ดิม ทีโอทีกับกสท จะทำหน้าที่ผู้ถือหุ้นและกำกับดูแลผ่านทางบอร์ดบริหา รไทยโมบาย ส่วนในด้านการปฏิบัติงานจะใช้มืออาชีพเข้ามา ซึ่งแนวทางนี้น่าจะได้ประโยชน์ทุกฝ่าย เหมือนทีโอทีกับกสทสร้างทางด่วนร่วมกัน แล้วตั้งด่านเก็บค่าผ่านทาง เมื่อเกิดรายได้ก็นำมาแบ่งผลประโยชน์กันตามสัดส่วนกา รถือหุ้น ไทยโมบายก็จะเป็นเน็ตเวิร์กโพรวายเดอร์ ในขณะที่เอกชนถ้าจะมาเช่าใช้เครือข่ายก็จะเป็นเซอร์ว ิส โพรวายเดอร์‘ตอนแรกประธานสถิตย์บอกถ้าคุยกันดีๆ อาจขายให้ ทีโอที บาทเดียวก็ได้ แต่ตอนหลังเปลี่ยนไปแล้วบอกต้อง 2.4 พันล้าน แต่ไม่เป็นไรถ้าตกลงกันไม่ได้สักที ยังมีทางออกที่ 3 คือลักษณะเหมือนเป็น
โฮลดิ้งร่วมกันแล้วจ้างทีมบริหาร มืออาชีพเข้ามาก็ได้’ทั้งนี้ โครงการ 3G ของไทยโมบายจะทำในลักษณะ
เพื่อให้บริการ อย่างไรก็ตามรมว.ไอซีทีกล่าวว่าจะต้องนำเรื่องไปหารื อกระทรวงการคลังในส่วนของสำนักบริหารหนี้สาธารณะ แต่เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาหรือเกิดการติดขัดอย่าง ไร เพราะกรณีการสร้างรถไฟฟ้าหลายแสนล้านบาทยังสามารถทำไ ด้ การลงทุนเพื่อสร้างเครือข่าย 3G ของไทยโมบาย จะคุ้มค่า และคืนทุนสร้างรายได้ และสร้างประโยชน์ให้เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศในระยะเว ลาที่รวดเร็วกว่า

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551